เว็บไซต์รวบรวมพรรณไม้ในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี
ต้นข่อยมีใบเดี่ยวเรียงสลับ
รูปไข่กลับผิวสากใบสีเขียว
ขึ้นเป็นกลุ่มแตกกิ่งก้านยาวเรียว
ช่อออกเดียวชูผงาดงามมากมาย
นิยมใช้ทำเป็นไม้ประดับ
บ้างก็จับไปทำยากันแพร่หลาย
เมล็ดข่อยช่วยบำรุงฟื้นร่างกาย
ให้สบายด้วยประโยชน์ในต้นเดียว
ข่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Streblus asper Lour
ตระกูล : Moraceae
ชื่อสามัญ : Siamese Rough Bush , Tooth Brush Tree , Bar Inka , Bermikka , Koi ,
Rudi Schwri , Serut , Shakhotaka
ชื่ออื่น : กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ซะโยเส่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี),
ข่อย(ร้อยเอ็ด), สะนาย (เขมร)
บริเวณที่พบในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี : บริเวณศาลพระภูมิหน้าอาคาร3ฯลฯ
ถิ่นกำเนิด : มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชียตั้งแต่ประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนามและไทย
ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเป็นพูเป็นร่องทั่วไปอาจขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่มเรือนยอดเป็นรูปวงกลม กิ่งก้านสาขามาก
เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบางๆมียางสีขาวเหนียวซึมออกมา
- ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็กรูปใบรีแกมรูปไข่กลับ เนื้อใบ ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน
- ดอก ออกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุกดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน
- ฝัก/ผล ลักษณะของผลจะกลมมีสีเหลือง ผลสุกมีสีเหลืองอ่อน เปลือกชั้นนอกนิ่มและฉ่ำน้ำ ซึ่งมีรสหวาน นกจะชอบกินผลข่อย
- เมล็ด มีเมล็ดเดียว ลักษณะกลมคล้ายเมล็ดพริกไทย
ประโยชน์ :
- ไม้ประดับ
- ยางใช้กำจัดแมลง
- ไม้ทำกระดาษ ทำเป็นสมุดเรียกว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย เชียงใหม่ใช้ทำมวนยาสูบ
- เมล็ดเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ และเจริญอาหาร