top of page

ต้นกระท้อนออกผลเหลืองเต็มต้น

มีมากล้นสุกเหลืองในต้นนี้

รสชาตินั้นหวานกรอบอร่อยดี

ผลอ่อนมีสีเขียวน่าสนใจ

ไม้ยืนต้นสูงใหญ่หลากหลายพันธุ์

ใบสดนั้นขับเหงื่อแก้พิษไข้

สรรพคุณหลายอย่างเป็นสมุนไพร

เอาไว้ใช้ทําอาหารคาวหวานกิน

กระท้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape (Burm. f.) Merr.

ตระกูล : Rubiaceae

ชื่อสามัญ : Santol, Sentul, Red sentol, Yellow sentol

ชื่ออื่น : สะตู สตียา (นราธิวาส), สะโต (ปัตตานี), เตียนล่อน สะท้อน (ภาคใต้), มะติ๋น (ภาคเหนือ), มะต้อง (อุดรธานี) 

บริเวณที่พบในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี : หลังหอประชุมครูลำยอง

ถิ่นกำเนิด : แถบอินโดจีน

ลักษณะทั่วไป :

กระท้อนเป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 15 - 30 เมตรอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 40 - 50 ปีเปลือกต้นสีเทาใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบการเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนานขนาดประมาณกว้าง 6 - 15 ซม. ยาว 8 - 20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่งดอกย่อยจำนวนมากกลีบดอกสีเหลืองนวล

ผลผลอ่อนสีเขียวมีน้ำยางสีขาวเมื่อผลแก่เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและมีน้ำยางน้อยลงรูปกลมแป้นผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่มขนาดประมาณ 5 - 15 เซนติเมตรภายในผลจะมีเมล็ด 3-5 เมล็ดและมีปุยสีขาวหุ้มอยู่เมล็ดรูปรีมีปลอกเหนียวห่อหุ้ม 

ประโยชน์:

ทำอาหารคาวหวานได้หลายชนิดหรือกินเป็นผลไม้สดกระท้อนเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงใบสดใช้ขับเหงื่อต้มอาบแก้ไข้เปลือกต้นต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสียรักษาโรคผิวหนังกลากเกลื้อนรากเป็นยาขับลมแก้ท้องเสียบิดเป็นยาธาตุหลายส่วนของกระท้อนมีฤทธิ์แก้อักเสบและสารสกัดจากกิ่งกระท้อนบางชนิดมีผลยับยั้งมะเร็งในหลอดทดลองสารสกัดจากเมล็ดกระท้อนมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง

bottom of page