top of page

ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrus hystrix DC ตระกูล : Rutaceae

ชื่อสามัญ : Leech lime , Mauritus papeda kaffir lime , porcupine orange

ชื่ออื่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) , มะขู(กะเหรี่ยง- แม่ฮ่องสอน) , ส้มกรูด ส้มมั่วผี(ภาคใต้)

บริเวณที่พบในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี: บริเวณลานศิลป์

ถิ่นกำเนิด : มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย

ลักษณะทั่วไป : - ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง เปลือกเรียบมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นแตกกิ่ง ก้านจำนวนมากตั้งแต่ระดับล่างของลำต้นทำให้มีลักษณะเป็นพุ่ม ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมยาว

- ใบ เป็นใบเดี่ยว มีก้านใบแผ่ออกเป็นครีบ ใบมีลักษณะหนา เรียบ มีผิวมัน สีเขียว ใบคอดที่กลางใบทำให้ใบ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ใบมีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่

- ดอก เป็นช่อมีสีขาว แทงออกบริเวณส่วนยอดหรือตามซอกใบ กลีบดอกมีสีขาวครีม 5 กลีบ มีขนปกคลุม ดอกมีกลิ่นหอมเล็กน้อย และเมื่อแก่จะร่วงง่าย

- ผล/ลูก มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร ผลมีขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย ลักษณะของผลมีรูปร่างแตกต่างกันไปแล้วแต่พันธุ์ ผิวเปลือกมีสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระ ภายในเปลือกมีต่อมน้ำมันหอมระเหยเป็นจำนวนมาก มีจุกที่หัว และท้ายของผล เมื่อสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

ประโยชน์:

- ขับลมแก้จุกเสียด

- น้ำมะกรูดใช้ถูฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน

- เอาผลมะกรูดมาดอง ใช้รับประทานขับลม

- เปลือกใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด

- แก้ลม บำรุงหัวใจ

- ยาขับเสมหะ แก้ไอ

- ใช้เป็นยาสระผมหรืออาบน้ำ

มะกรูดผิวขรุขระคล้ายน้อยหน่า

ใบเรียบหนาผลของมันใช้ทานได้

นำประกอบตำราอาหารไทย

เน้นพวกใบมาทำเครื่องต้มยำ

ดอกสีขาวแทงออกตามซอกใบ

มะกรูดใช้สระผมและอาบน้ำ

สรรพคุณรังแคหายให้ผมดำ

มะกรูดทำประโยชน์ได้มากเอย

มะกรูด

bottom of page