เว็บไซต์รวบรวมพรรณไม้ในโรงเรียนสุราษฎร์ธานี
แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack
ตระกูล : วงศ์ส้ม
ชื่อสามัญ : แก้ว
ชื่ออื่น : จ๊าพริก , แก้วลาย , แก้วขี้ไก่ , แก้วพริก , ตะไหลแก้ว , แก้วขาว , กะมูนิง , จิ๋วหลี่เซียง
บริเวณที่พบ : หน้าแคนทีนป๊อปอาย , หน้าอาคาร 6
ถิ่นกำเนิด : เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศจีน และในออสเตรเลีย ต้นแก้วโดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร ต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลมแน่นทึบ
เปลือกลำต้นเป็นสีเทาแตกเป็นร่อง ๆ เนื้อไม้สีขาวนวล เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี
ใบแก้วใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายใบคี่ ออกเรียงสลับ มีใบย่อยประมาณ 5-9 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายและโคนใบแหลม
ดอกแก้วออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นสีขาวและมีกลิ่นหอมจัด กลีบดอกมี 5 กลีบ หลุดร่วงได้ง่าย กลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปกลมรี
ผลแก้ว ลักษณะของผลเป็นกลมรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายสอบเล็กน้อย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีแดงอมส้ม ผิวผลมีต่อมน้ำมันเห็นได้ชัดเจนสรรพคุณของต้นแก้วบำรุงธาตุในร่างกายคลายการอุดตันของเส้นเลือดแก้อาการวิงเวียนศีรษะแก้อาการไอยาชาระงับอาการปวดยาอมบ้วนปากแก้อาการปวดฟันแก้ฝีฝักบัวที่เต้านมขับลมชื้นแก้ท้องเสียแก้บิดขับลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดกระเพาะขับพยาธิตัวตืดยาขับประจำเดือนหรือระดูของสตรีช่วยเร่งการคลอดบุตรของสตรียาแก้ฝีในมดลูกยาพอกบริเวณที่เป็นแผลยาแก้ผดผื่นคันแก้แมลงสัตว์กัดต่อยแก้แผลเจ็บปวดช่วยแก้ฟกช้ำแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกายทาหรือฉีดเป็นยาระงับอาการปวดแก้ไขข้ออักเสบ